วิทยากร Unify the Current Trends of Implant Retained Tissue Supported Overdenture

วิทยากร Unify the Current Trends of Implant Retained Tissue Supported Overdenture 2022-05-09T10:37:11+07:00

4 สิงหาคม 2565

ประวัติการศึกษา

  • ประกาศนียบัตรวิชาบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาทันตกรรมประดิษฐ์
  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   พ.ศ. 2555
  • ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2552

ประสบการณ์การทำงาน

  • ทันตแพทย์ประจำโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา พ.ศ. 2552 – ปัจจุบัน
  • อาจารย์ร่วมสอนนักศึกษาทันตแพทย์ สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน

ติดต่อ  

  • E-mail : nunprosthdent@gmail.com
  • เบอร์โทร : 0923356469

      การบรรยายจะครอบคลุมเรื่องปัญหาที่เกิดขึ้นภายหลังการใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ เช่น อาการเจ็บสันเหงือก ฟันปลอมหลวม กลืนลำบาก เป็นต้น ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ เนื้อเยื่อรองรับฟันปลอม ชิ้นงานฟันปลอม การสบฟัน และการปรับตัวของคนไข้ โดยจะเน้นในเรื่อง วิธีการประเมินสาเหตุของปัญหา และการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

Address: Department of Oral & Maxillofacial Surgery, Dental hospital, Faculty of Dentistry, KKU. Muang, Khon Kaen, Thailand 40002.

Tel.and fax: +6643348153 

Mobile: +66892758168

E-mail: siriposi@kku.ac.th, siripong.omfskku@gmail.com 

Date of Birth  24-11-1972

Nationality  Thai

ประวัติการศึกษา

  • พศ.2539 ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พศ.2544 วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญวิชาชีพทันตกรรมสาขาศัลยศาสตร์ช่องปากฯ ทันตแพทยสภา ประเทศไทย
  • พศ.2551 ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิทยาศาสตร์คลินิค (ระบาดวิทยาคลินิค) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ประวัติการทำงาน

  • พศ.2539 อาจารย์ระดับ 4 ภาควิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและกระดูกขากรรไกร คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พศ.2550 – ปัจจุบัน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8 สังกัดภาควิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและกระดูกขากรรไกร คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ตำแหน่งบริหาร:  

  • พศ.2546-2548 ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พศ.2552-2556  ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พศ.2558 -2563  หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและกระดูกขากรรไกร คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 ความเชี่ยวชาญ

  • ศัลยศาสตร์ช่องปาก (oral surgery)
  • ศัลยกรรมกระดูกขากรรไกร (Orthognathic surgery)
  • การควบคุมความเจ็บปวดและวิตกกังวลในคลินิคทันตกรรม (Pain and dental anxiety management)
  • ระบาดวิทยาคลินิคทันตกรรมรากเทียม (Dental implantology)

        ปัจจุบันการรักษาด้วยรากฟันเทียมเป็นหนึ่งในการรักษาเพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีอัตราความสำเร็จสูง และได้รับความนิยมมากขึ้น ประกอบกับทันตแพทย์และผู้ป่วยมีความรู้ ความเข้าใจ และยอมรับเกี่ยวกับการรักษาชนิดนี้มากขึ้น อย่างไรก็ตามเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นในการรักษารากฟันเทียมนั้นจำเป็นต้องมีรูปร่างของฟันและเนื้อเยื่อที่อยู่รอบรากฟันเทียมที่เหมาะสม ดังนั้นการบรรยายนี้จะแนะนำเทคนิคต่าง ๆ ในการจัดการรูปร่างของเนื้อเยื่อแข็ง และเนื้อเยื่ออ่อนรอบรากฟันเทียม รวมถึงชี้ให้เห็นความสำคัญของสภาพเนื้อเยื่อที่อยู่รอบบริเวณรากฟันเทียม และการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมสำหรับวิธีการรักษาในแบบต่าง ๆ  เพื่อให้ทันตแพทย์ที่ทำงานรากฟันเทียมมีความเข้าใจมากขึ้น และตระหนักถึงการอยู่รอดของรากฟันเทียมว่าขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ โดยการจัดการเนื้อเยื่อแข็ง และเนื้อเยื่ออ่อนรอบรากฟันเทียมถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุด ซึ่งการจัดการเนื้อเยื่อรอบรากฟันเทียมอาจทำได้ก่อนขั้นตอนการผ่าตัด หลังขั้นตอนการผ่าตัด ก่อนการใส่ฟัน หรือแม้แต่หลังการใส่ฟัน อีกทั้งลักษณะที่สมบูรณ์ของเหงือกและกระดูกสามารถให้ผลลัพธ์ด้านความงามได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้การวางแผนการรักษาควรขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ป่วยแต่ละราย ตลอดจนความรู้และประสบการณ์ของทันตแพทย์ สภาพในช่องปากผู้ป่วย เช่น ความกว้างและความหนาของเนื้อเยื่อ ความจำเป็นในการจัดการกระดูก และปัจจัยเสี่ยงเฉพาะที่อื่น ๆ  เป็นต้น

ชื่อ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ ดร.อนุพันธ์ สิทธิโชคชัยวุฒิ

ตำแหน่งทางวิชาการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ตำแหน่งงานบริหาร : คณบดี

สถานที่ทำงาน : คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

โทรศัพท์ : 089-949-8498

Email : anuphans@nu.ac.th

ประวัติการศึกษา

  • พ.ศ. 2545  ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประเทศไทย
  • พ.ศ. 2550 Master of Philosophy(Stem cells and Tissue Engineering) The University of Sheffield, U.K.
  • พ.ศ. 2552 Certificate in Dental Implant Care  The University of Sheffield, U.K.
  • พ.ศ. 2553 Doctor of Philosophy(Stem cells and Tissue Engineering) The University of Sheffield, U.K.
  • พ.ศ. 2559 ประกาศนียบัตรหลักสูตรนักบริหารมหาวิทยาลัยสายวิชาการระดับสูง (นบม.รุ่นที่ 27) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ประเทศไทย

ประสบการณ์การทำงาน

  • พ.ศ. 2553 – ปัจจุบัน ประธานวิชาการ และกรรมการบริหาร สมาคมฯ สมาคมทันตกรรมรากเทียมแห่งประเทศไทย 
  • พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน หัวหน้าคลินิกปริทันตวิทยา โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • พ.ศ. 2553 – พ.ศ.2555 หัวหน้าคลินิกทันตกรรมรากเทียม โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • พ.ศ. 2553 – พ.ศ.2555  หัวหน้าสาขาวิชาปริทันตวิทยา  คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 
  • พ.ศ. 2554 – พ.ศ.2556 ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • พ.ศ. 2556 – พ.ศ.2560 รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน  คณบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

       ปัจจุบันการรักษาด้วยรากฟันเทียมเป็นหนึ่งในการรักษาเพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีอัตราความสำเร็จสูง และได้รับความนิยมมากขึ้น ประกอบกับทันตแพทย์และผู้ป่วยมีความรู้ ความเข้าใจ และยอมรับเกี่ยวกับการรักษาชนิดนี้มากขึ้น อย่างไรก็ตามเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นในการรักษารากฟันเทียมนั้นจำเป็นต้องมีรูปร่างของฟันและเนื้อเยื่อที่อยู่รอบรากฟันเทียมที่เหมาะสม ดังนั้นการบรรยายนี้จะแนะนำเทคนิคต่าง ๆ ในการจัดการรูปร่างของเนื้อเยื่อแข็ง และเนื้อเยื่ออ่อนรอบรากฟันเทียม รวมถึงชี้ให้เห็นความสำคัญของสภาพเนื้อเยื่อที่อยู่รอบบริเวณรากฟันเทียม และการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมสำหรับวิธีการรักษาในแบบต่าง ๆ  เพื่อให้ทันตแพทย์ที่ทำงานรากฟันเทียมมีความเข้าใจมากขึ้น และตระหนักถึงการอยู่รอดของรากฟันเทียมว่าขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ โดยการจัดการเนื้อเยื่อแข็ง และเนื้อเยื่ออ่อนรอบรากฟันเทียมถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุด ซึ่งการจัดการเนื้อเยื่อรอบรากฟันเทียมอาจทำได้ก่อนขั้นตอนการผ่าตัด หลังขั้นตอนการผ่าตัด ก่อนการใส่ฟัน หรือแม้แต่หลังการใส่ฟัน อีกทั้งลักษณะที่สมบูรณ์ของเหงือกและกระดูกสามารถให้ผลลัพธ์ด้านความงามได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้การวางแผนการรักษาควรขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ป่วยแต่ละราย ตลอดจนความรู้และประสบการณ์ของทันตแพทย์ สภาพในช่องปากผู้ป่วย เช่น ความกว้างและความหนาของเนื้อเยื่อ ความจำเป็นในการจัดการกระดูก และปัจจัยเสี่ยงเฉพาะที่อื่น ๆ  เป็นต้น

ประวัติการศึกษา

  • ปริญญาตรี ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับสอง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (DDS) ปี พ.ศ. 2553
  • ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (Higher Graduate Diploma Program in Clinical Science in Prosthodontics)  ปี พ.ศ.2556 
  • ประกาศนียบัตรทันตแพทย์ประจำบ้าน สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (Certificate Residency Training Program in Prosthodontics) 
  • วุฒิบัตร สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ ราชวิทยาลัยทันตแพทย์ (Diplomate Thai Board of Prosthodontics) ปี พ.. 2559

ประสบการณ์ทำงาน

  • ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์

Course director of Certificate Training Program in Prosthodontics at Institute of Dentistry

   The McGill consensus statement on overdentures was published following a symposium held at McGill University in Montreal, Canada in 2002. A panel of relevant experts in the field stated that: The evidence currently available suggests that the restoration of the edentulous mandible with a conventional denture is no longer the most appropriate first choice prosthodontic treatment. There is now overwhelming evidence that a two-implant overdenture should become the first choice of treatment for the edentulous mandible. This lecture will focus on the concept, based on the evidences, and how to plan for implant retained overdenture in fully edentulous patients.

ประวัติการศึกษา: 

  • Doctor of Dental Surgery, Faculty of Dentistry Srinakharinwirot University
  • Certificate of Residency in Advanced Prosthodontics, Indiana University School of Dentistry, USA
  • Master of Science in Dentistry, Indiana University School of Dentistry, USA
  • Fellowship, International College of Dentists, USA

ประสบการณ์ทำงาน:

  • ทันตแพทย์สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ และบูรณะรากฟันเทียม โรงพยาบาลทันตกรรม BIDH และ คลินิกทันตกรรม BIDC
  • อาจารย์พิเศษ ศูนย์ทันตกรรมรากฟันเทียม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อาจารย์พิเศษ ศูนย์ทันตกรรมรากฟันเทียม และคลินิกทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ 

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อื่นๆ:

  • ผู้อำนวยการหลักสูตรทันตกรรมรากฟันเทียมพื้นฐาน และ กรรมการสมาคมทันตกรรมรากเทียมแห่งประเทศไทย
  • สารณียกร และกรรมการสมาคมทันตกรรมประดิษฐ์ไทย

   Implant retained overdenture treatment concept have changed the lives of millions of patients worldwide for decades. As the number of edentulous patients is continuously growing and demands are changing, you need to be prepared. One of the challenges in implant retained overdenture are implant location and restorative space, which may effect treatment complications. In this lecture, you will receive a practical guidance of fabricating and utilizing both conventional and digital surgical guided, based on the current evidences, as to which treatments to choose for each clinical situation.

ข้อมูลทั่วไป
ชื่อ สกุล : ทันตแพทย์อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ
วัน เดือน ปีเกิด : 18 กันยายน 2510
ตำแหน่งปัจจุบัน :
(1) รองเลขาธิการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
(2) โฆษกสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
(3) เลขาธิการทันตแพทยสภา วาระที่ 8 (ปี พ.ศ.2559 – 2562)
(4) กรรมการ ในคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
(5) ประธานกรรมการชมรมรักษ์ สปสช. 2559

ประวัติการศึกษา
1. ทันตแพทย์บัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2535
2. ประกาศนียบัตรทันตกรรมคลินิกชั้นสูง สถาบันทันตกรรม กระทรวงสาธารณสุข ปี 2543
3. วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (คอมพิวเตอร์) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2545
4. หลักสูตรนักบริหารการแพทย์และสาธารณสุขระดับสูง กระทรวงสาธารณสุข รุ่นที่ 23 ปี 2550
5. หลักสูตรนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รุ่งที่ 7 สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ) ปี 2560
6. หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 22 สถาบันพระปกเกล้า ปี 2561
7. หลักสูตรหลักสูตรนักบริหารการทูต (นบท.) รุ่นที่ 12 ของกระทรวงการต่างประเทศ ปี 2563

ประวัติการศึกษาดูงาน
1. หลักสูตร Hospital Dentistry, Nippon Dental University ประเทศญี่ปุ่นปี 2534
2. หลักสูตร Hospital Dentistry มิวนิค ประเทศเยอรมนี ปี 2535
3. หลักสูตร System Development (ทุน JICA) ประเทศญี่ปุ่น ปี 2549
4. ดูงานระบบสาธารณสุข ประเทศออสเตรเลีย ปี 2550
5. หลักสูตร การบริหารโครงการ QCC ปี 2551
6. หลักสูตร KM for Change Agent & Facilitator ปี 2553

7. หลักสูตร ผู้นำยุคใหม่ นำอย่างไรให้ได้ทั้งใจ ได้ทั้งงาน ปี 2554
8. ดูงานระบบทันตกรรม ประเทศนิวซีแลนด์ ปี 2554
9. ดูงานระบบหลักประกันสุขภาพ ประเทศเบลเยี่ยม ปี 2556
10. สัมมนาหลักสูตร The International Forum on the development of social health protection in the SEA region in Hanoi ประเทศเวียดนาม ปี 2557
11. ประชุม Rare Disease Asia Conference 2015 ณ ประเทศสิงคโปร์ ปี 2558
12. ประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยที่ 68 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ปี 2558
13. ดูงาน “การผลิตและควบคุมคุณภาพวัคซีนในสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ณ เมืองพูเน่ ประเทศอินเดีย ปี 2559
14. ศึกษาดูงาน รูปแบบการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศญี่ปุ่น ณ.กรุงโตเกียว ประทศญี่ปุ่น ปี 2560
15. ร่วมกับคณะกรรมาธิการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ศึกษาดูงานระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศอังกฤษ สิงหาคม 2561
16. ร่วมประชุมทวิภาคี รัฐสภาอิตาลี กรรมาธิการสาธารณสุขไทย สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มกราคม 2562
17. ร่วมประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่องวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและสิ่งอำนวยความสะดวก ครั้งที่ 13 (i- CREATe 2019) สิงหาคม 2562 ณ เครือรัฐออสเตรเลีย

ประวัติการทำงาน
1. หัวหน้าฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลวังชิ้น จังหวัดแพร่
2. หัวหน้าฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
3. หัวหน้าฝ่ายข้อมูลและสารสนเทศ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
4. หัวหน้าฝ่ายสารสนเทศ โรงพยาบาลด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
5. หัวหน้าฝ่ายสารสนเทศ โรงพยาบาลบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
6. รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
7. ผู้เชี่ยวชาญ สำนักบริหารการชดเชยค่าบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
8. รองผู้อำนวยการ สำนักบริหารการชดเชยค่าบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
9. ผู้อำนวยการ สำนักบริหารการชดเชยค่าบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
10. ผู้อำนวยการ สำนักเลขาธิการและประชาสัมพันธ์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
11. โฆษกสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

12. อนุกรรมาธิการสาธารณสุขวุฒิสภา พ.ศ. 2553 – 2555
13. กรรมการทันตแพทยสภา วาระที่ 3, 4
14. เลขาธิการทันตแพทยสภา วาระที่ 8 (ปี พ.ศ. 2559 – 2562)
15. ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
16. คณะอนุกรรมการการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ทางด้านการแพทย์ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
17. ประธานกรรมการชมรมรักษ์ สปสช. 2559
18. กรรมการ ในคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
19. คณะกรรมการกำกับงานวิจัย กองวิจัยและพัฒนา สำนักงานประกันสังคม
20. คณะกรรมการเพื่อพิจารณาผลงาน สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
21. คณะกรรามการด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
22. ผู้ทรงคุณวุฒิที่ปรึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
23. คณะทำงานพัฒนาระบบการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
24. คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข
25. รองเลขาธิการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ประสบการณ์อื่นๆ
1. บรรยายระบบการจ่ายเงินชดเชยค่าบริการ สปสช. ให้แก่ชาวต่างชาติที่เข้าอบรมหลักสูตร UC Cap ทุกรุ่น ระหว่างปี 2552 – 2555
2. บรรยายงานวิจัยเรื่อง AI for Removable Partial Denture ให้แก่ทันตแพทย์นานาชาติในการประชุมทันตแพทย์ระหว่างประเทศ ปี 2553
3. บรรยาย หัวข้อโอกาสของ UHC ในระดับภูมิภาคในงานประชุมเชิงปฏิบัติการ Building Informal worker Organization through Universal Health Coverage in Laung Prabang, Lao กันายน 2561

    สิทธิประโยชน์รากฟันเทียม สำหรับผู้ที่ไม่มีฟันทั้งปากในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การผ่าตัดใส่รากฟันเทียมเป็นบริการที่จำเป็นในผู้ที่ไม่มีฟันทั้งปากที่มีปัญหาในการใส่ฟันเทียมแบบปกติ เป็นการช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ในปัจจุบัน ผู้ที่ไม่มีฟันทั้งปากสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สามารถเข้าถึงบริการใส่ฟันเทียมประมาณร้อยละ 46 ซึ่งร้อยละ 8 ของผู้ที่ใส่ฟันเทียมทั้งปากไปแล้วมีปัญหาทางคลินิกทำให้ฟันเทียมไม่กระชับ และร้อยละ 24 ของกลุ่มที่มีปัญหา มีข้อบ่งชี้และความจำเป็นต้องผ่าตัดใส่รากฟันเทียมเพื่อให้สามารถใช้ฟันเทียมบดเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ ซึ่งราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย มีหนังสือลงวันที่ 3 กันยายน 2562 เสนอขอเพิ่มบริการรากฟันเทียมเป็นสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คณะอนุกรรมการกำหนดประเภทและขอบเขตในการให้บริการสาธารณสุข ได้พิจารณาผลการศึกษาและร่างข้อเสนอสิทธิประโยชน์การผ่าตัดใส่รากฟันเทียมสำหรับผู้ที่ไม่มีฟันทั้งปาก ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 และมีมติดังนี้
1. เห็นชอบบริการผ่าตัดใส่รากฟันเทียมในผู้ที่ไม่มีฟันทั้งปากเป็นสิทธิประโยชน์ในระบบหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมอบนักวิจัยศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นแนวทางการรักษา รวมถึงต้นทุนค่าบริการ ในกรณีที่การผ่าตัดใส่รากฟันเทียมไม่ประสบความสำเร็จ และนำเสนอคณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนพิจารณาด้านงบประมาณ และเสนอคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต่อไป

2. มอบ สปสช. ดำเนินการ
  1) สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการให้บริการผ่าตัดใส่รากฟันเทียมอย่างครบวงจร
 2) ดำเนินการโครงการนำร่องการใช้ผลิตภัณฑ์รากฟันเทียมในบัญชีนวัตกรรมไทยโดยมุ่งเน้นการใช้ผลิตภัณฑ์ในบัญชีนวัตกรรมไทยให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ และขอให้ สปสช. ไปศึกษาความเป็นไปได้ที่จะใช้บัญชีนวัตกรรมไทย เพื่อสนับสนุนผลิตภัณฑ์และบริการในบัญชีนวัตกรรมไทยและนโยบายรัฐบาล
ทั้งนี้ สามารถพิจารณารูปแบบการจัดซื้อรากฟันเทียมที่เหมาะสมกับหน่วยบริการที่ให้บริการในประเทศไทย ใน 2 รูปแบบ คือ
   (2.1) จัดซื้อรากฟันเทียมโดยหน่วยงานส่วนกลาง (central procurement) และสนับสนุนรากฟันเทียมให้หน่วยบริการนำไปดำเนินการผ่าตัดใส่รากฟันเทียมให้กับผู้ป่วย
   (2.2) ทำการเจรจาต่อรองราคารากฟันเทียมแบบรวมศูนย์ (central bargaining) กำหนดคุณสมบัติของรากฟันเทียมและกรอบอัตราเบิกจ่ายที่เหมาะสม

 3) เจรจาต่อรองราคาให้ได้ราคาที่เหมาะสม

3. ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สร้างระบบติดตามผู้รับบริการผ่าตัดใส่รากฟันเทียม
4. มอบ สปสช. ประสานราชวิทยาลัยทันตแพทย์ สถาบันทันตกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 1) เพื่อดำเนินการจัดทำ CPG (Clinical Practice Guideline) แนวทางเวชปฏิบัติ สำหรับการผ่าตัดใส่รากฟันเทียม เพื่อเป็นมาตรฐานของประเทศ
 2) จัดการอบรมให้ความรู้แก่ทันตแพทย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการผ่าตัดใส่รากฟันเทียม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทันตแพทย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในโรงพยาบาลชุมชนให้สามารถดูแลและบำรุงรักษาผู้ที่ได้รับการผ่าตัดใส่รากฟันเทียมได้

3) ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการผ่าตัดใส่รากฟันเทียมเพื่อให้เข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึง
5. มอบ สปสช. พัฒนาระบบการเข้าถึงบริการและกลไกการจัดบริการการใส่ฟันเทียมฐานพลาสติกในผู้สูงอายุให้มีความครอบคลุมมากขึ้น รวมทั้งตั้งเป้าหมายสำหรับการเข้าถึงให้ชัดเจน และติดตามประเมินผลการเข้าถึงบริการเพื่อขยายการเข้าถึงบริการอย่างเหมาะสมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีมติในการประชุมครั้งที่ 13/2564 วันที่ 9 ธันวาคม 2564 เห็นชอบสิทธิประโยชน์การผ่าตัดใส่รากฟันเทียมสำหรับผู้ที่ไม่มีฟันทั้งปากเป็นสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยปีงบประมาณ 2565 กำหนดเป้าหมาย 5,513 ราย (5,513 x 2 ชิ้น = 11,026 ชิ้น) และวงเงินงบประมาณ 144.22 ล้านบาท รวมค่าผ่าตัดและค่าบำรุงรักษาเพื่อให้บริการรากฟันเทียมสำหรับผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้มีสิทธิเข้าถึงบริการได้อย่างเหมาะสม และมีการบริหารจัดการสำหรับบริการรากฟันเทียมที่สอดคล้องตามมติคณะอนุกรรมการกำหนดประเภทและขอบเขตในการให้บริการสาธารณสุข จึงได้มีการจัดซื้อรากฟันเทียมโดยหน่วยงานส่วนกลาง (central procurement) เพื่อสนับสนุนรากฟันเทียมให้หน่วยบริการนำไปให้บริการแก่ผู้มีสิทธิต่อไป

      การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกรณีบริการการผ่าตัดใส่รากฟันเทียมสำหรับผู้สูญเสียฟันทั้งหมดของขากรรไกรบนและ/หรือขากรรไกรล่าง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. เป็นการให้บริการแก่ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ผู้สูญเสียฟันทั้งหมดของขากรรไกรบนและ/หรือขากรรไกรล่าง ซึ่งทันตแพทย์พิจารณาแล้ว พบว่า มีการละลายตัวของกระดูกขากรรไกรเป็นอย่างมาก จนไม่สามารถใส่ฟันเทียมตามวิธีการปกติได้ ทั้งนี้ตามแนวทางปฏิบัติทางคลินิกเพื่อการรักษาทางทันตกรรมรากเทียมที่สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
2. หน่วยบริการที่ให้บริการและมีสิทธิรับค่าใช้จ่าย ได้แก่ หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่มีทันตแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถในการให้บริการรากฟันเทียม โดย สปสช.ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และมูลนิธิทันตนวัตกรรม ได้จัดให้มีการอบรมหลักสูตรระยะสั้นสำหรับบริการรากฟันเทียมให้แก่ทันตแพทย์ในหน่วยบริการ
3. การจ่ายค่าใช้จ่ายสำหรับบริการผ่าตัดใส่รากฟันเทียม จ่ายตามรายการบริการและ อัตรา ดังนี้
(1) รายการรากฟันเทียม (Fixture) สนับสนุนเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษผ่านระบบ Vender Managed Inventory : VMI
(2) ค่าผ่าตัดใส่รากฟันเทียม จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 17,500 บาทต่อราย
(3) ค่าติดตามการรักษา จ่ายแบบเหมาจ่ายเป็นระยะเวลา 5 ปี ดังนี้
(ก) ปีที่ 1 (ปีที่ผ่าตัด) จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 700 บาท
(ข) ปีที่ 2 ถึง ปีที่ 5 จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 2,800 บาทต่อปี โดยมีการติดตามการรักษา อย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง
…………………………………………………………………………….

5 สิงหาคม 2565

Educational history:

  • 1999-2005 : DDS , Faculty Of Dentistry , Mahidol University , Bangkok , Thailand 
  • 2007: Graduate Diploma in Clinical Science Programme in Maxillofacial Prosthetics (International Programme ), Mahidol University
  • 2009: Certificate in 1-Year Master Program in Implant Dentistry, University of California Los Angeles(UCLA), USA
  • 2010: Master Degree in Maxillofacial Prosthetics and Dental Oncology, Mahidol University

Occupational History:

  • 2005-2012: Full-time Instructor of Maxillofacial Prosthetics Service , Department of Prosthodontics, Faculty Of Dentistry ,Mahidol University
  • 2012-present: Private practice at Bangkok hospital, Bangkok christian hospital, Faculty of dentistry, Mahidol university and Godlen Jubilee Medical center
  • 2014: Clinical instructor and Lecturer of basic implant course of Thai Association of Dental implantology
  • 2012-2015: Comittee of Thai Association of Dental Implantology(TADI)
  •  2016-2021: Comittee and Editor in chief of Thai Association of Dental Implantology(TADI)
  • 2017-2021: Committee of Thailand Prosthodontic Association(TPA)
  • 2017 : Guest Lecturer and Part-time Clinical Instructor of Maxillofacial Prosthetics Service , Department of Prosthodontics, Faculty Of Dentistry ,Mahidol University
  • 2018-2021: Clinical Instructor of Thai Association of Dental Implantology’s Fundamental course of dental implantology
  • 2018-2021 : Guest Lecturer of Master degree in dental implantology, Faculty of dentistry, Thammasat University
  • 2020: Guest Lecturer of Advanced education program in implant dentistry, Faculty of dentistry, Srinakarinwirot University

            Attachment is one of crucial component which play a major role to dictate the retention and long term success of implant retained overdenture. 

Various Attachment systems in dental implant market are available for specific purpose, therefore criteria for attachment selection should be scientific based concerned and practical in routine used. 

Type and material of attachment, how to select  proper attachment in each clinical scenarios and clinical application will be discussed and clarified in the lecture.

ประวัติการศึกษา:

ปริญญาตรี : ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี พ.. 2537

ประสบการณ์ทำงาน:

  • รับราชการ ตำแหน่งทันตแพทย์ โรงพยาบาลมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น ปี พ.. 2537 ปี .. 2540
  • รับราชการ ตำแหน่งทันตแพทย์เชี่ยวชาญ หัวหน้ากลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ปี พ.ศ. 2541 จนถึงปัจจุบัน

ติดต่อ:

โทรศัพท์ 043 291194  ต่อ107  กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลภูเวียง

      ปัจจุบันสังคมไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากรครั้งสำคัญคือการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีการคาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ.2571 ประเทศไทยจะมีผู้มีอายุเกิน 60 ปี ร้อยละ 23.5 กล่าวคือประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ภายในระยะเวลาดังกล่าว ปัญหาหลักในด้านทันตสุขภาพของผู้สูงอายุคือการสูญเสียฟัน โดยเฉพาะการสูญเสียฟันทั้งปากพบมาถึงร้อยละ 7.2 และพบมากขึ้นถึงร้อยละ 32.2 เมื่ออายุมากกว่า 80 ปี ในกรณีดังกล่าวการใส่ฟันเทียมทั้งปากเพื่อให้มีฟันใช้งานจึงเป็นภารกิจสำคัญของทันตแพทย์ทุกภาคส่วน และในผู้สูงอายุที่มีการยุบตัวของกระดูกขากรรไกรมากทำให้การยึดอยู่ของฟันเทียมเป็นไปได้ยาก Implant Retained Overdenture จึงเป็นทางเลือกที่จำเป็นในการแก้ปัญหาดังกล่าว

      โครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ดำเนินการในช่วงเวลา10 กว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนผู้ด้อยโอกาสได้เข้าถึงบริการการใส่ Implant Retained Overdenture เพื่อการยึดอยู่ของฟันเทียมล่าง อย่างทั่วถึงทั้งประเทศไทย

       ภายใต้ข้อจำกัดต่างๆทั้งทางด้านวิชาการ ทันตบุคลากร วัสดุอุปกรณ์และความเข้าใจของผู้รับบริการในโครงการที่ผ่านมาเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่ควรนำมาวิพากษ์ วิเคราะห์ วางแผน แก้ไขเพื่อให้งาน Implant retained overdenture ที่กำลังจะกลายเป็นงาน routine ของทันตแพทย์ทุกภาคส่วน ได้พัฒนาการให้บริการที่มีประสิทธิภาพต่อไป

ประวัติการศึกษา

  • ปริญญาตรี คณะทันตแพทยศาสตร์บัญฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ..2539
  • ประกาศนียบัตร บัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก(ทันตกรรมประดิษฐ์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.. 2541
  • อนุมัติบัตรหรือวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญ สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ ทันตแพทยสภา พ..2550

ประสบการณ์ทำงาน

  • ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

     การให้การรักษาผู้ป่วยไร้ฟันทั้งปาก ด้วยการทำฟันเทียมทั้งปากรองรับด้วยรากเทียม(Implant OverDenture :IOD)เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสมกับผุ้ป่วยในปัจจุบัน  ขบวนการเชื่อมต่อส่วนยึดรากเทียมกับฟันเทียม (attachment incorporation : pick up ) เป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญที่จะทำให้งานIOD ประสบผลสำเร็จ ซึ่งการทำความเข้าใจในองค์ประกอบของ รากเทียม และ attachment ระบบต่างๆ ตลอดจนถึงการเคลื่อนขยับของฟันเทียมที่จะเปลี่ยนแปลงหลังการ pick up อันเนื่องจากขั้นตอนนี้เป็นการยึดส่วนประกอบที่มีการเคลื่อนที่ที่แตกต่างกันเข้าด้วยกัน ดังนั้นขั้นตอนนี้จึงมีความสำคัญอย่างมากที่จะให้การรักษาตรงตามหลักการและรูปแบบ Implant retained tissue supported overdenture ที่ให้รากเทียมช่วยในการยึด และฟันเทียมทำหน้าที่รองรับแรงบดเคี้ยว การบรรยายนี้จะนำเสนอขั้นตอนในการ pick up แบบที่ละขั้น(step by steps) ตลอดจนเทคนิคการทำงานในคลินิก การเลือกใช้รากเทียม การประเมินการยึดอยู่ของรากเทียม วัสดุอคลิกเรซิน ข้อผิดพลาดพร้อมการแก้ไขที่อาจเกิดขึ้นได้จากขบวนการนี้ โดยนำเสนอผ่านเคสผู้ป่วยตัวอย่างที่ติดตามการรักษามาระยะเวลานานพอสมควร

Col. Dr. Tanakrit   Noppakunwijai

พันเอก ทันตแพทย์ ธนกฤต  นพคุณวิจัย

ตำแหน่ง

  •  อุปนายกสมาคมทันตกรรมรากเทียมแห่งประเทศไทย
  •  หัวหน้าแผนกทันตกรรม โรงพยาบาลค่ายธนะรัชต์
  •  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มคลินิคทันตกรรมคูลสไมล์

วันเกิด: 20 ตุลาคม 2518

อายุ:  43 ปี

ชื่อเล่น: โอ

ที่อยู่: 58/44 หมู่ 4 ถ.เพชรเกษม ต.เขาน้อย อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77120

โทรศัพท์ : 0814994568 , 0876667222

อีเมล์:  drtanakrit@gmail.com , drtanakrit@tadi.or.th

line id:  drtanakrit

Qualifications

  • 1998 DDS, Mahidol University ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล
  • 2004 Graduate Diploma in Oral Surgery, Chulalongkorn University ประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาศัลยศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2006 Residency Training in Oral and Maxillofacial Surgery, Chulalongkorn University ทันตแพทย์ประจำบ้าน สาขาศัลยศาสตร์ช่องปาก ขากรรไกร และ ใบหน้า คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2008 B.P.A., Sukhothai Thammathirat Open University รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • 2010 Observer Fellowship in Oral and Maxillofacial Surgery, Harborview Medical Center, University of Washington, Seattle, WA, USA
  • 2011 Fellowship of the Royal College of Dental Surgeons of Thailand (FRCDS) อนุมัติบัตร สาขาศัลยศาสตร์และแม็กซิโลเฟเชียล ทันตแพทยสภา
  • 2014 PNP4 , King Prajadhipok’s Institute ประกาศนียบัตรผู้นำยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตย รุ่นที่ 4, สถาบันพระปกเกล้า
  • 2018 หลักสูตรผู้นำพอเพียง เพื่อความมั่นคง รุ่นที่ 4, มูลนิธิคลังสมอง วปอ.เพื่อสังคมรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • 2019 หลักสูตรนักยุทธศาสตร์ รุ่นที่ 12 สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
  • 2020 หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง ด้านการค้า การพาณิชย์ (TEPCoT) รุ่นที่ 12 มหาวิทยาลัยหอการค้า

Work Experience

  • 1998-2000 Dental Division, Somdejchaophrayamahakasatsuk Fort Hospital แผนกทันตกรรม โรงพยาบาลค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
  • 2000-2003 Dental Division, Werawatyotin Fort Hospital แผนกทันตกรรม โรงพยาบาลค่ายวีรวัฒน์โยธิน
  • 2003-present Dental Division, Thanarat Fort Hospital แผนกทันตกรรม โรงพยาบาลค่ายธนะรัชต์
  • 2007-present Oral Surgery Unit, Dental Division, Phramongkutklao Hospital แผนกศัลยกรรมช่องปาก กองทันตกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้าฯ
  • 2007-2012 Committee of Thai Association of Dental Implantology กรรมการสมาคมทันตกรรมรากเทียมแห่งประเทศไทย
  • 2012-2018 Special activity committee of  Thai Association of Dental Implantology กรรมการกิจกรรมพิเศษสมาคมทันตกรรมรากเทียมแห่งประเทศไทย
  • 2018-present Vice President of  Thai Association of Dental Implantology อุปนายกสมาคมทันตกรรมรากเทียมแห่งประเทศไทย
  • 2013-2015 Chair man of Hua Hin city Football Club ประธานสโมสรฟุตบอล หัวหินซิตี้
  • 2014 present Advisor to the Mayor of Hua Hin Municipality ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี เทศบาลหัวหิน
  • 2015-2018:  รองผู้อำนวยการ ศูนย์แพทย์ทหารบก จังหวัดชายแดนภาคใต้ 
  • 2020: อนุกรรมมาธิการต่างประเทศในกรรมาธิการต่างประเทศ รัฐสภา

     ในปัจจุบัน การรักษาทางทันตกรรมรากเทียมถือเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก และ แทบจะเป็นการรักษาพื้นฐานอย่างหนึ่ง ไม่มีทันตแพทย์ที่ไม่รู้จักรากเทียมอีกต่อไป เพราะในบางครั้งคนไข้เองก็อาจเป็นคนแจ้งเราว่าต้องการทำรากเทียม และ การเรียนรู้เกี่ยวกับรากเทียมก็เปิดกว้างมากขึ้นกว่าในอดีต แม้กระทั้งในสิทธิประโยชน์ในการรักษาษาทางทันตกรรมของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ก็ได้บรรจุการทำรากเทียมรองรับฟันปลอมไว้ในประกาศฉบับล่าสุด คือบริการผ่าตัดใส่รากฟันเทียมสำหรับผู้ที่ไม่มีฟันทั้งปาก โดยให้ทำเป็นรากเทียม 2 ราก เพื่อรองรับฟันปลอม (Implants retained tissue supported overdenture) ตาม The McGill consensus statement on overdentures ในปี 2002 ในผู้สูงอายุ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2565 เป็นต้นมา ซึ่งถ้ามองว่าง่าย ก็เหมือนจะง่าย แต่ในความเป็นจริงมีรายละเอียดมากมาย

          จากการที่รากเทียมเป็นงานที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้นทั้งในแง่ของผู้รับบริการ และ ในมุมของทันตแพทย์เอง ก็ต้องยอมรับว่า การเรียนการสอนพื้นฐานส่วนใหญ่ เน้นไปที่การทำรากเทียม ทั้งในส่วนของการผ่าตัดและการใส่ฟัน โดยปล่อยให้การเรียนรู้การป้องกันและแก้ไขภาวะแทรกซ้อนทางทันตกรรมรากเทียม เป็นการเรียนในระดับสูงขึ้น ดังนั้น ในหัวข้อนี้จึงเป็นการบรรยายให้ทราบเกี่ยวกับ ภาวะแทรกซ้อน (Complication) เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (Adverse event) ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งการบรรยายจะครอบคลุมปัญหาที่เกี่ยวข้องจากการวางแผน (Treatment planning related) ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกายวิภาคบริเวณใกล้เคียง (Anatomy related) หรือ ปัญหาที่เกิดจากการผ่าตัด (Procedure related) ซึ่งมีปัญหาตั้งแต่ในระดับที่ไม่ยุ่งยาก จนถึงปัญหาในระดับที่อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอันตรายถึงชีวิต (life threatening) ซึ่งจำเป็นอย่างมากที่ควรทราบ รวมทั้งหากเกิดปัญหาขึ้นมาแล้ว ควรดำเนินการอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นในกรณี Mechanical complications , Technical complications หรือ Biologic complications ซึ่งจะทำให้คุณหมอที่ทำรากเทียม สามารถ ประเมิน วางแผน และ ดำเนินการผ่าตัดได้อย่างมั่นใจมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อน สามารถดำเนินการแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม  รวมทั้งการนำเสนอตัวอย่างผู้ป่วย และ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์กว่า 20 ปี ในการแก้ปัญหาแทรกซ้อนในการทำงานรากเทียมที่ผ่านมา “มาเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้รู้ทัน และ ป้องกันปัญหาก่อนเริ่มทำรากเทียมตัวต่อไปกันเถอะครับ”

ประวัติการศึกษา

  • ปริญญาตรี D.D.S. (Doctor of Dental Surgery Program) ปี พ.ศ. 2536
  • ประกาศนียบัตร Graduate Diploma (Oral and maxillofacial surgery) ปี พ.ศ. 2552
  • ปริญญาโท M.Sc. (Medical Engineering, Biomechanics ) ปี พ.ศ. 2555
  • ปริญญาเอก Ph.D. (Medical Engineering) ปี พ.ศ. 2564

ประสบการณ์ทำงาน

  • หัวหน้าฝ่ายทันตกรรม รพ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ ปี พ.ศ. 2536 – 2538
  • ทันตแพทย์ประจำ ฝ่ายทันกรรม รพ.อำนาจเจริญ จ.อำนาจเจริญ ปี พ.ศ. 2538 – 2541
  • อาจารย์ประจำภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี พ.ศ. 2553 ถึงปัจจุบัน

ประสบการณ์งานวิจัย 

  • Bone and polymer Biomaterial Research in The National Metal and Materials technology Center (MTEC)
  • Center of Excellence in Creative Engineering Design and Development, Department of Mechanical Engineering, Faculty of Engineering, Thammasat University, Bangkok 12121, Thailand.

ผลงานวิจัย

  1. Teerapan Sosakul, Bunyoung Rungroungdouyboon, Jintamai Suwanprateeb. Evaluation of tissue ingrowth and reaction of a porous polyethylene block as an onlay bone graft in rabbit posterior mandible. J periodontal Implant Sci. 2020 19;50(2):106-120. 
  2. Song JC, Suwanprateeb J, Sae-Lee D, Sosakul T. Clinical and histological evaluations of alveolar ridge augmentation using a novel bi-layered porous polyethylene barrier membrane. J Oral Sci. 2020 23;62(3):308-313.
  3. Teerapan Sosakul, Bunyoung Rungroungdouyboon, Jintamai Suwanprateeb. Current application of porous polyethylene in tissue regeneration and future use in alveolar bone defect. APST. 2021 Volume: 26. Issue: 04. Article ID.: APST-26-04-06.
  4. Poovarodom P., Sae-Lee D., Sosakul T. Three dimensional finite element analysis of a mandibular premolar restored with a fiber post and resin composite with different cavity designs. KKU Engineering Journal. 2016;43(4):196-203
  5. Teerapan Sosakul, Bunyoung Rungroungdouyboon. The design of Plate Distraction Osteogenesis device to increase vertical bone height of mandible before dental implant placement, The 26 th Conference of the Mechanical Engineering Network of Thailand

ที่ทำงาน 

  • ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (Department of Prosthodontics, Faculty of Dentistry, Khon Kaen University)

       ปัญหาของผู้ป่วยที่สูญเสียฟันหลายซี่หรือสูญเสียฟันทั้งปาก คือ ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารลดลงมีผลต่อสุขภาพร่างกาย รวมถึงสูญเสียความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน เมื่อเวลาผ่านไปการละลายตัวของสันกระดูกขากรรไกรทั้งบนและล่างจะเพิ่มมากขึ้น การใส่ฟันปลอมทดแทนชนิดถอดได้ในผู้ป่วยที่มีฟันหลักเหลือน้อยหรือสูญเสียฟันทั้งปาก จะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ฟันปลอมไม่แนบกับสันเหงือก หลวม หรือขยับไม่สามารถใช้งานได้และเร่งการละลายตัวของสันกระดุกเหงือกมากขึ้นส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนไข้แย่ลง การใส่รากฟันเทียมเพื่อรองรับฟันปลอมถอดได้จะช่วยเป็นหลักยึดฟันปลอมทำให้ฟันปลอมแน่นขึ้นผู้ป่วยสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับฟันปลอมที่ไม่มีรากฟันเทียมเข้าไปรองรับ ดังนั้นความสำคัญของการใส่รากฟันเทียมเพื่อรองรับฟันปลอมถอดได้ คือการวางแผนการรักษาที่เหมาะสม การประเมินสภาพลักษณะของสันเหงือกและอวัยวะที่ช่วยในการบดเคี้ยวได้อย่างถูกต้อง รวมถึงเทคนิคการผ่าตัดเพื่อปลูกรากฟันเทียมในตำแหน่งที่เหมาะสมมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้การรักษาประสบความสำเร็จ การผ่าตัดปลูกรากเทียมเพื่อรองรับฟันปลอมถอดได้บางส่วนหรือทั้งปาก ทันตแพทย์ผู้ผ่าตัดจะต้องคำนึงถึงลักษณะและคุณภาพของสันกระดูก เนื้อเยื่อเหงือกและเหงือกยึด การเลือกตำแหน่งที่จะปลูกรากฟันเทียม การเลือกขนาดและความยาวของรากฟันเทียม การเลือกใช้ส่วนยึดต่อกับฟันปลอมถอดได้ เทคนิคการเปิดแผ่นเหงือกและการปลูกกระดูก รวมถึงระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะต่อกับฟันปลอม ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน เหล่านี้คือสิ่งที่ทันตแพทย์ที่ทำการรักษาควรคำนึง เพื่อให้ผลการรักษาประสบความสำเร็จ ผู้ป่วยสามารถใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

       ปัจจุบันสังคมไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากรครั้งสำคัญคือการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีการคาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ.2571 ประเทศไทยจะมีผู้มีอายุเกิน 60 ปี ร้อยละ 23.5 กล่าวคือประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ภายในระยะเวลาดังกล่าว ปัญหาหลักในด้านทันตสุขภาพของผู้สูงอายุคือการสูญเสียฟัน โดยเฉพาะการสูญเสียฟันทั้งปากพบมาถึงร้อยละ 7.2 และพบมากขึ้นถึงร้อยละ 32.2 เมื่ออายุมากกว่า 80 ปี ในกรณีดังกล่าวการใส่ฟันเทียมทั้งปากเพื่อให้มีฟันใช้งานจึงเป็นภารกิจสำคัญของทันตแพทย์ทุกภาคส่วน และในผู้สูงอายุที่มีการยุบตัวของกระดูกขากรรไกรมากทำให้การยึดอยู่ของฟันเทียมเป็นไปได้ยาก Implant Retained Overdenture จึงเป็นทางเลือกที่จำเป็นในการแก้ปัญหาดังกล่าว

      โครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ดำเนินการในช่วงเวลา10 กว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนผู้ด้อยโอกาสได้เข้าถึงบริการการใส่ Implant Retained Overdenture เพื่อการยึดอยู่ของฟันเทียมล่าง อย่างทั่วถึงทั้งประเทศไทย

       ภายใต้ข้อจำกัดต่างๆทั้งทางด้านวิชาการ ทันตบุคลากร วัสดุอุปกรณ์และความเข้าใจของผู้รับบริการในโครงการที่ผ่านมาเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่ควรนำมาวิพากษ์ วิเคราะห์ วางแผน แก้ไขเพื่อให้งาน Implant retained overdenture ที่กำลังจะกลายเป็นงาน routine ของทันตแพทย์ทุกภาคส่วน ได้พัฒนาการให้บริการที่มีประสิทธิภาพต่อไป